วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การทำ Backtest อย่างง่าย จากข้อมูล eFin Smart Portal Simulation ด้วย Excel #5

คราวนี้มาถึงคิวของเวิร์คชีท FRONT END กันบ้าง   เวิร์คชีทนี้จะทำหน้าที่ในการตั้งค่าตั้งต้นสำหรับการคำนวณบนตาราง TRADES และแสดงข้อมูลสรุปผลจากการเทรดตามสัญญาณ Simulation ที่เราเลือกใช้


รูปด้านบน ผมตัดมาจากเวิร์คชีท FRONT END ของไฟล์ตัวอย่าง   จะเห็นว่ามันแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน   ส่วนบนสุดจะเหมือนเป็นส่วนหัวของรายงาน จะมีช่องใส่ข้อมูลประเภทช่วยจำ อย่างชื่อของอนุพันธ์หรือชื่อของข้อมูลที่เรานำมาใช้ หรือ Derivative Name และ แหล่งที่มาของสัญญาณซื้อขาย หรือ Trades Signal By   ซึ่งข้อมูลพวกนี้คุณสามารถใส่ได้เองตามต้องการ   แต่สำหรับ Strategy นั้นจะแสดงรูปแบบของการเทรดที่เราจำลองขึ้นโดยใช้สัญญาณซื้อขายที่นำเข้ามา   ซึ่งอันนี้จะสัมพันธ์กับค่าที่อยู่ในช่อง Trade Long only ด้านล่าง

ถัดลงมาจะเป็นส่วนที่ใช้ในการตั้งค่าต่างๆ เพื่อนำใช้ในการคำนวณบนเวิร์คชีท BACK END จะอยู่ภายใต้ชื่อ SET UP   ประกอบไปด้วยช่องป้อนข้อมูลดังนี้

  • Initial Equity   ใช้สำหรับกำหนดจำนวนเงินทุนเริ่มต้นที่จะใช้เทรด
  • Initial Margin per contact     ค่าหลักประกันเริ่มต้นต่อหนึ่งสัญญา
  • Maintenance Margin   ค่าหลักประกันรักษาสภาพ (ยังไม่ได้ถูกใช้ในเวอร์ชั่นนี้)
  • Commission per contact   ค่านายหน้าในการเทรดต่อหนึ่งสัญญา
  • Big Point Value   หรือตัวคูณดัชนี ซึ่งใช้คำนวณกำไรขาดทุนเป็นจำนวนเงิน
  • Position Size   จำนวนสัญญาทั้งหมดที่ใช้ในการเทรดแต่ละครั้ง
  • Trade Long only   ช่องนี้ให้คีย์ YES หรือ NO  โดย YES จะหมายถึงให้นำสัญญาณซื้อขายมาจำลองการเทรดในแบบ Long ด้านเดียว   แต่ถ้าเป็น NO ระบบจะจำลองการเทรดในแบบสองทาง คือ สมมุติว่าปิดสัญญาทั้งหมดในการเทรดด้านเดิม แล้วเปิดสัญญาใหม่ในฝั่งตรงข้ามที่ราคาเดียวกัน เมื่อพบสัญญาณซื้อหรือขายใหม่ที่ตรงข้ามกัน  ซึ่งผมขอเรียกว่า Directional Stop And Reverse 

ถัดลงมาอีกก็จะเป็น PERFORMANCE  ซึ่งเป็นสรุปผลของการเทรดตามสัญญาณที่ใช้ ว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหน  ข้อมูลที่ผมเลือกมาใช้ในเบื้องต้นมีตามนี้ครับ
  • Final Equity   เป็นมูลค่ารวมล่าสุดของ portfolio ที่ใช้เทรด
  • Net Profit   กำไรสุทธิจากการเทรดทั้งหมด
  • Trade Profit   มูลค่ารวมของเทรดที่ได้กำไร
  • Trade Loss   มูลค่ารวมของเทรดที่ขาดทุน
  • Number of Winner   จำนวนครั้งที่เทรดชนะ
  • Number of Loser   จำนวนครั้งที่เทรดแพ้
  • Profit Factor   เป็นสัดส่วนที่ใช้บอกความสามารถในการทำกำไรของระบบ 
  • Average Win   ค่าเฉลี่ยของกำไรจากการเทรดทั้งหมด
  • Average Loss   ค่าเฉลี่ยของขาดทุนจากการเทรดทั้งหมด
  • Expectancy   ค่ากำไรคาดหวังจากการเทรดตามระบบ
  • Max. % Drawdown   เปอร์เซนต์ของการขาดทุนสะสมสูงสุดในช่วงเวลาที่ขาดทุน   

จะเห็นว่าบ้างค่าจะมีการแสดงผลทั้งที่เป็นจำนวนเงิน และเป็นเปอร์เซนต์   ข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากการประมวลผลข้อมูลที่ถูกคำนวณบนตาราง TRADES มาอีกทีหนึ่ง

กระเถิบมาทางซ้ายอีกนิด คุณก็จะพบกับชาร์ทแสดงราคาปิดของ SET50 Index Future พร้อมจุดซื้อและจุดขายที่พล็อตตามข้อมูลจากตาราง IMPORTED DATA บนเวิร์คชีท BACK END   ถ้าคุณคลิกหนึ่งครั้งบนพื้นที่ชาร์ทแล้วเลื่อนตัวชี้ไปบนจุดซื้อหรือจุดขายสักอัน  มันจะแสดงวันที่และราคาของจุดซื้อขายนั้นออกมาตามรูปด้านล่าง   ชาร์ทนี้ผมกำหนดให้มันครอบคลุมพื้นที่ข้อมูลประมาณ 2,000 แถว  ถ้ามีข้อมูลที่นำเข้ามามากกว่านี้ ก็สามารถแก้ไขใน properties ของชาร์ทได้ในภายหลัง  





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น